มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา
มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา จ.ภ. | |
---|---|
เกิด | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 มารศรี หินลาด มณฑลปราจีนบุรี ประเทศสยาม |
คู่สมรส | หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร |
บุตร | 3 คน |
อาชีพ | นักแสดง นักพากย์ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2482–2555 (73 ปี) |
รางวัล | |
ศิลปินแห่งชาติ | สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละคร นักแสดง-นักพากย์) (2542) |
สุพรรณหงส์ | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม 2529 — โอวตี่ |
ชมรมวิจารณ์บันเทิง | เกียรติคุณแห่งความสำเร็จ (2559) |
โทรทัศน์ทองคำ | รางวัลเกียรติยศคนทีวี (2548) |
ฐานข้อมูล | |
IMDb |
มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา (เกิด 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463)[1] เป็นนักแสดงหญิงอาวุโสและนักพากย์ภาพยนตร์อาวุโสชาวไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุด ได้รับสมญานามว่าเป็น "ศิลปิน 5 แผ่นดิน" มารศรีนั้นอยู่ในวงการบันเทิง ทั้งการพากย์และการแสดงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 จนถึงกลางปี พ.ศ. 2555 รวมระยะเวลาในการทำงานในวงการทั้งสิ้น 73 ปี[2] มารศรีได้รับคัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติที่อายุมากที่สุด
ประวัติ
[แก้]มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา เดิมมีชื่อว่า มารศรี หินลาด มีชื่อเล่นว่า "ศรี" เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463[1] (แต่ข้อมูลโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ระบุเกิดเมื่อ 2 มกราคม พ.ศ. 2465 ซึ่งถ้านับแบบปัจจุบัน จะตรงกับวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2466)[3] ที่มณฑลปราจีนบุรี (จังหวัดปราจีนบุรี) เป็นบุตรของผัน กับลม่อม หินลาด มารศรี เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงจากการเป็นนักแสดงตลกจำอวดขณะอายุได้ 19 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ร่วมกับ อบ บุญติด, ดอกดิน กัญญามาลย์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม และสมควร กระจ่างศาสตร์ ในยุคสมัยที่ละครเวทีเฟื่องฟูในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งยังได้แสดงร่วมกับนักแสดงรุ่นราวคราวเดียวกันที่มากฝีมือหลายท่าน เช่น สมชาย อาสนจินดา, สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, ชาลี อินทรวิจิตร, มาลี เวชประเสริฐ, สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์, กัณฑรีย์ นาคประภา, ล้อต๊อก, ชูศรี มีสมมนต์, จุรี โอศิริ เป็นต้น อันเป็นการแจ้งเกิดในวงการแสดงของมารศรี
ต่อมาสมรสกับหม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร และได้ทำงานเป็นนักพากย์ภาพยนตร์ในชื่อ "รุจิรา - มารศรี"[4] เป็นคู่นักพากย์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของผู้ชมภาพยนตร์มายาวนานร่วมครึ่งศตวรรษ ก่อนจะมาผันตัวเป็นนักแสดงในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ในเวลาต่อมา
ชีวิตครอบครัว มีบุตร-ธิดาสามคน และอยู่ในวงการบันเทิง ได้แก่
- อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา (เกิด 18 มกราคม พ.ศ. 2485)
- จิรศักดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (เกิด 26 มกราคม พ.ศ. 2491 ถึงแก่กรรม 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
- จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา (เกิด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2500)
สำหรับละครเวทีที่สร้างชื่อให้กับ มารศรี มากที่สุดคือ ละครเวทีเรื่อง "วนิดา" (2486) จากบทประพันธ์ของ ‘วรรณสิริ’ โดยเป็นนักแสดงหญิงคนแรกที่รับบทเป็น "วนิดา วงศ์วิบูลย์" หญิงสาวที่ถูกบิดาสั่งจับแต่งงานกับ พันตรีประจักษ์ มหศักดิ์ นายทหารม้าที่ต้องมารับเคราะห์กรรมแทนน้องชาย ที่ติดหนี้กู้เงินจาก นายดาว บิดาของวนิดา จนต้องเกือบถูกฟ้องล้มละลาย ชีวิตของพันตรีประจักษ์และวนิดาต้องตกอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก โดยเฉพาะฝ่ายของพันตรีประจักษ์ที่มีคู่หมั้นหมายไว้อยู่ก่อนแล้ว ดีที่ว่าวนิดามีกำลังใจที่เข้มแข็งในการพยายามหาข้อเท็จจริงเพื่อลบล้างมลทินย่าของเธอ คือ "คุณหญิงมณฑา" ที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีจาก คุณนายน้อม แม่ของพันตรีประจักษ์ว่าคบชู้ จนต้องระเห็จออกจากบ้านมหศักดิ์ โดยมีพันตรีประจักษ์นั้นคอยช่วยเหลือด้วยใจยุติธรรมเป็นที่ตั้ง
และแสดงละครเวทีอีกหลากหลายเรื่อง เช่น วันทามารีอา, ลานอโศก, นางบุญใจบาป, คุณหญิงพวงแข เป็นต้น
เมื่อละครเวทีได้รับความนิยมลดลง จึงได้ผันตัวจากนักแสดงละครเวทีเป็นนักแสดงในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ในเวลาต่อมา โดยเป็นทั้งนักแสดงนำ นางเอก นางร้าย และนักแสดงสมทบ
มารศรีได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย เช่น
- รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง โอวตี่ (พ.ศ. 2529)
- รางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ภาพยนตร์และละคร นักแสดง-นักพากย์ (พ.ศ. 2542)
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขารางวัลเกียรติยศคนทีวี (พ.ศ. 2548)
ก่อนที่จะหยุดพักการแสดงในช่วงกลางปี พ.ศ. 2555 เนื่องด้วยอายุที่มากขึ้นและสุขภาพ รวมระยะเวลาในการทำงานในวงการทั้งสิ้น 73 ปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นนักแสดงหญิงที่ทำงานอยู่ในวงการแสดงมากที่สุดคนหนึ่งของไทย จนได้รับฉายาว่า "ศิลปิน 5 แผ่นดิน"
ผลงานการแสดง
[แก้]มารศรีมีผลงานการแสดงทั้งแนวชีวิตและแนวชวนหัว กับงานพากย์ภาพยนตร์ตั้งแต่ยุค 16 มม.จนถึงยุคหนังสโคป 35 มม. เช่น บาปทรมาน, วนิดา, สายโลหิต, นันทาวดี, ไทรโศก, ผู้ชนะสิบทิศ, เป็ดน้อย (ไม่ใส่เครดิตร่วมแสดง), เกาะสวาทหาดสวรรค์, มันมากับความมืด, เขาชื่อกานต์, สันติ-วีณา, โอวตี่, เครือฟ้า และอีกหลายเรื่องเป็นผู้พากย์เสียงลงฟิล์ม เช่น ละครเร่ รวมทั้งงานแสดงละครโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง เช่น คมพยาบาท (ทางช่อง 4 บางขุนพรหม เมื่อพ.ศ. 2512)[5] จนถึงปัจจุบัน
สำหรับละครเวทีที่สร้างชื่อให้กับ มารศรี มากที่สุดคือ ละครเวทีเรื่อง "วนิดา" (2486) โดยเป็นนักแสดงหญิงคนแรกที่รับบทเป็น "วนิดา วงศ์วิบูลย์" และละครเวทีอีกหลากหลายเรื่อง เช่น วันทามารีอา, ลานอโศก, นางบุญใจบาป, คุณหญิงพวงแข เป็นต้น
ได้รับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 6 ประจำปีพ.ศ. 2529 จากเรื่อง โอวตี่[4] และการเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปีพ.ศ. 2542[6] และรางวัลเกียรติยศคนทีวี จัดโดยรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปีพ.ศ. 2548 ร่วมกับ พิชัย วาศนาส่ง และ สินีนาฏ โพธิเวส[7]
ละครเวที
[แก้]- พ.ศ. 2485-2497: นักแสดงละครเวทีที่ได้รับความนิยมมาก
- พ.ศ. 2485 : วนิดา รับบท วนิดา
- พ.ศ. 2487 : วันทามารีอา
- พ.ศ. 2490 : ลานอโศก
- พ.ศ. 2492 : ขุนวรวงศา
- พ.ศ. 2494 : นางบุญใจบาป
- พ.ศ. 2495 : คุณหญิงพวงแข
- พ.ศ. 2496 : ล่องอเวจี(สาวเวียงฟ้า) รับบทเป็น ฟ้างาม/ฟองจันทร์
แสดงภาพยนตร์
[แก้]- พ.ศ. 2493 : บาปทรมาน
- พ.ศ. 2494 : พี่ชาย
- พ.ศ. 2496 : วนิดา
- พ.ศ. 2496 : ฟ้ามุ่ย
- พ.ศ. 2497 : หนูจ๋า
- พ.ศ. 2497 : คำสั่งสาป
- พ.ศ. 2498 : ขวัญใจคนจน
- พ.ศ. 2498 : เมียแก้ว
- พ.ศ. 2498 : ซนแต่สวย
- พ.ศ. 2498 : หญิงสามผัว
- พ.ศ. 2498 : ทาษเทวี
- พ.ศ. 2498 : ห้วงรักเหวลึก
- พ.ศ. 2499 : สุดสายใจ
- พ.ศ. 2500 : สายโลหิต
- พ.ศ. 2501 : เทวรูปหยก
- พ.ศ. 2505 : นันทาวดี
- พ.ศ. 2506 : นางกระต่ายป่า
- พ.ศ. 2508 : เงิน เงิน เงิน
- พ.ศ. 2509 : โสนน้อยเรือนงาม
- พ.ศ. 2509 : ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ยอดขุนพล
- พ.ศ. 2510 : ไทรโศก
- พ.ศ. 2510 : ล่าพยาบาท
- พ.ศ. 2510 : ผู้ชนะสิบทิศ ตอน บุเรงนองถล่มหงสาวดี
- พ.ศ. 2510 : ผู้ชนะสิบทิศ ตอน บุเรงนองลั่นกลองรบ
- พ.ศ. 2510 : สิงห์สองแผ่นดิน
- พ.ศ. 2511 : เป็ดน้อย
- พ.ศ. 2511 : พระลอ
- พ.ศ. 2511 : เรือจ้าง
- พ.ศ. 2511 : สีดา
- พ.ศ. 2511 : ลาวแพน
- พ.ศ. 2512 : ไทยน้อย
- พ.ศ. 2512 : เจ้าหญิง
- พ.ศ. 2512 : เกาะสวาทหาดสวรรค์
- พ.ศ. 2512 : ดาวรุ่ง
- พ.ศ. 2512 : ขวัญหล้า
- พ.ศ. 2512 : แสงเดือน
- พ.ศ. 2513 : บ้านสาวโสด
- พ.ศ. 2513 : เรารักกันไม่ได้
- พ.ศ. 2513 : แม่นาคพระนคร
- พ.ศ. 2513 : จอมโจรมเหศวร
- พ.ศ. 2513 : อีสาวบ้านไร่
- พ.ศ. 2513 : รักนิรันดร์
- พ.ศ. 2513 : จุ๊บแจง
- พ.ศ. 2514 : คนึงหา
- พ.ศ. 2514 : แม่นม
- พ.ศ. 2514 : ยั่วรัก
- พ.ศ. 2514 : พิษผยอง
- พ.ศ. 2514 : ปานจันทร์
- พ.ศ. 2514 : โฉมตรูภูธร
- พ.ศ. 2514 : กว่าจะรักกันได้
- พ.ศ. 2514 : น้องนางบ้านนา
- พ.ศ. 2514 : มันมากับความมืด
- พ.ศ. 2514 : แก้วขนเหล็ก
- พ.ศ. 2514 : จอมเจ้าชู้
- พ.ศ. 2514 : ดวงใจสวรรค์
- พ.ศ. 2514 : ทะโมนไพร
- พ.ศ. 2514 : วิวาห์พาฝัน
- พ.ศ. 2514 : โกรธกันทำไม
- พ.ศ. 2515 : วิวาห์ลูกทุ่ง
- พ.ศ. 2515 : แควเสือ
- พ.ศ. 2515 : เจ้าลอย
- พ.ศ. 2515 : หยาดฝน
- พ.ศ. 2515 : ระเริงชล
- พ.ศ. 2515 : รักต้องห้าม
- พ.ศ. 2515 : มนต์รักดอกคำใต้
- พ.ศ. 2515 : ลูกสาวนายพล
- พ.ศ. 2515 : สุดสายป่าน
- พ.ศ. 2515 : แม่อายสะอื้น
- พ.ศ. 2515 : แม่เนื้อทอง
- พ.ศ. 2515 : ขวัญใจลูกทุ่ง
- พ.ศ. 2515 : กว๊านพะเยา
- พ.ศ. 2516 : สาวภูไท
- พ.ศ. 2516 : เด่นดวงเดือน
- พ.ศ. 2516 : แก้วตาขวัญใจ
- พ.ศ. 2516 : ภูกระดึง
- พ.ศ. 2516 : สักขีแม่ปิง
- พ.ศ. 2516 : ไม้ป่า
- พ.ศ. 2516 : สายชล
- พ.ศ. 2516 : มารรัก
- พ.ศ. 2516 : ซำเหมา
- พ.ศ. 2516 : เหลือแต่รัก
- พ.ศ. 2516 : เขาชื่อกานต์
- พ.ศ. 2516 : แหวนทองเหลือง
- พ.ศ. 2516 : เจ้าปลิวสิงห์สุพรรณ
- พ.ศ. 2516 : ผาเวียงทอง
- พ.ศ. 2516 : สุดหัวใจ
- พ.ศ. 2516 : พิษพยาบาท
- พ.ศ. 2517 : โสมสลัว
- พ.ศ. 2517 : นี่หรือผู้หญิง
- พ.ศ. 2517 : อาถรรพ์สวาท
- พ.ศ. 2517 : ด้วยปีกของรัก
- พ.ศ. 2517 : อย่ารักฉัน
- พ.ศ. 2517 : นางร้อยชื่อ
- พ.ศ. 2517 : เจ้าดวงดอกไม้
- พ.ศ. 2517 : ดอกคูนเสียงแคน
- พ.ศ. 2517 : มัจจุราชสีน้ำผึ้ง
- พ.ศ. 2517 : บุษบาขายรัก
- พ.ศ. 2517 : พ่อจอมโวย
- พ.ศ. 2517 : คุณครูที่รัก
- พ.ศ. 2517 : แม่
- พ.ศ. 2518 : เผ็ด
- พ.ศ. 2518 : หนี้รัก
- พ.ศ. 2518 : ลูกผู้ชาย
- พ.ศ. 2518 : ไฟรักสุมทรวง
- พ.ศ. 2518 : คำมั่นสัญญา
- พ.ศ. 2518 : มาหยารัศมี
- พ.ศ. 2518 : เพื่อเธอที่รัก
- พ.ศ. 2518 : หัวใจราชสีห์
- พ.ศ. 2519 : นางงูเห่า
- พ.ศ. 2519 : สันติ-วีณา
- พ.ศ. 2519 : เทวดาเดินดิน
- พ.ศ. 2519 : มือปืนขี้แย
- พ.ศ. 2519 : ลาวคำหอม
- พ.ศ. 2519 : กบฎหัวใจ
- พ.ศ. 2519 : บ้องไฟ
- พ.ศ. 2519 : เพลิงแพร
- พ.ศ. 2519 : ชาติอาชาไนย
- พ.ศ. 2519 : ความรักสีดำ
- พ.ศ. 2519 : ดับสุริยา
- พ.ศ. 2519 : วัยอลวน
- พ.ศ. 2519 : อสูรสวาท
- พ.ศ. 2519 : น้ำตาหยดสุดท้าย
- พ.ศ. 2519 : บ่อเพลิงที่โพทะเล
- พ.ศ. 2520 : ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น
- พ.ศ. 2520 : อย่าลืมฉัน
- พ.ศ. 2520 : ไอ้ตีนโต
- พ.ศ. 2520 : ล่า
- พ.ศ. 2520 : 3 นัด
- พ.ศ. 2520 : ชื่นชีวานาวี
- พ.ศ. 2520 : แม่ดอกกัญชา
- พ.ศ. 2520 : ปล้นอเมริกา
- พ.ศ. 2521 : บุษบาก๋ากั่น
- พ.ศ. 2521 : เลือดในดิน
- พ.ศ. 2521 : ทีเด็ดคู่เขย
- พ.ศ. 2521 : หัวใจกุ๊กกิ๊ก
- พ.ศ. 2521 : วัยรัก
- พ.ศ. 2521 : แรกรัก
- พ.ศ. 2521 : ดวงเศรษฐี
- พ.ศ. 2521 : เหนือกว่ารัก
- พ.ศ. 2521 : นักล่าผาทอง
- พ.ศ. 2521 : พ่อเสือลูกสิงห์
- พ.ศ. 2521 : กาม
- พ.ศ. 2521 : รักระแวง
- พ.ศ. 2521 : กุญแจรัก
- พ.ศ. 2522 : สามคนผัวเมีย
- พ.ศ. 2522 : แม่เขียวหวาน
- พ.ศ. 2522 : สลักจิต
- พ.ศ. 2522 : หัวใจวิปริต
- พ.ศ. 2522 : แม่ค้าขายผัก
- พ.ศ. 2522 : เพียงคำเดียว
- พ.ศ. 2523 : ละอองดาว
- พ.ศ. 2523 : ซาตานที่รัก
- พ.ศ. 2523 : รุ้งเพชร
- พ.ศ. 2523 : เครือฟ้า
- พ.ศ. 2523 : สิงห์แม่น้ำแคว
- พ.ศ. 2523 : พจมาน สว่างวงศ์
- พ.ศ. 2523 : สู้อย่างสิงห์
- พ.ศ. 2523 : ผัวนอกคอก
- พ.ศ. 2523 : ช้ำเพราะรัก
- พ.ศ. 2523 : หนึ่งน้องนางเดียว
- พ.ศ. 2524 : กามนิต วาสิฎฐี
- พ.ศ. 2524 : ดิน น้ำ ลม ไฟ
- พ.ศ. 2524 : สุดทางรัก
- พ.ศ. 2524 : สุดปรารถนา
- พ.ศ. 2524 : ค่าของคน
- พ.ศ. 2524 : วันที่แม่รอ
- พ.ศ. 2524 : สวัสดีคนสวย
- พ.ศ. 2524 : รักโอ้รัก
- พ.ศ. 2524 : ใครกำหนด
- พ.ศ. 2524 : ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง
- พ.ศ. 2525 : ปริศนา
- พ.ศ. 2525 : เล็บครุฑ 78
- พ.ศ. 2525 : แม่หอยหลอด
- พ.ศ. 2525 : แววมยุรา
- พ.ศ. 2525 : แรงรัก
- พ.ศ. 2525 : น้ำพริกก้นถ้วย
- พ.ศ. 2525 : นี่หรือมนุษย์
- พ.ศ. 2525 : นางแมวป่า
- พ.ศ. 2526 : ขุนโจร 5 นัด
- พ.ศ. 2526 : แม่กระชังก้นรั่ว
- พ.ศ. 2526 : หัวใจทมิฬ
- พ.ศ. 2526 : สาวแดดเดียว
- พ.ศ. 2526 : ไฟรักอสูร
- พ.ศ. 2527 : ครูเสือ
- พ.ศ. 2527 : เสือลากหาง
- พ.ศ. 2527 : ลูกทุ่งพเนจร
- พ.ศ. 2527 : ดาวประดับบ่า
- พ.ศ. 2527 : ฟ้าบันดาล
- พ.ศ. 2527 : รัศมีแข
- พ.ศ. 2527 : ลวดหนาม
- พ.ศ. 2527 : ช่างร้ายเหลือ
- พ.ศ. 2527 : วันนั้นคงมาถึง
- พ.ศ. 2528 : คุณหญิงตราตั้ง
- พ.ศ. 2528 : ปางรัก
- พ.ศ. 2528 : หัวใจเถื่อน
- พ.ศ. 2528 : ข้างหลังภาพ
- พ.ศ. 2529 : โอวตี่
- พ.ศ. 2529 : แสงสูรย์
- พ.ศ. 2529 : เกมมหาโชค
- พ.ศ. 2529 : เครื่องแบบสีขาว
- พ.ศ. 2530 : ปรารถนาแห่งหัวใจ
- พ.ศ. 2530 : ฆ่าปิดปาก
- พ.ศ. 2531 : หมอกสวาท
- พ.ศ. 2533 : เก่งจริงนะแม่คุณ
- พ.ศ. 2533 : โอวตี่ 2
- พ.ศ. 2533 : พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ
- พ.ศ. 2534 : เดี๋ยวเล็ก เดี๋ยวใหญ่
- พ.ศ. 2536 : สบายบรื๋อ 2 ตอน บรื๋อเบิกบาน
- พ.ศ. 2537 : แม่นาคพระโขนง
- พ.ศ. 2537 : กาเหว่าที่บางเพลง
- พ.ศ. 2539 : คู่กรรม 2
- พ.ศ. 2541 : กล่อง
- พ.ศ. 2544 : สุริโยไท
- พ.ศ. 2549 : นาค รักแท้ วิญญาณ ความตาย
- พ.ศ. 2549 : ข้าวเหนียวหมูปิ้ง
ผลงานพากย์เสียง
[แก้]- พ.ศ. 2495 : เจดีย์หัก(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2495 : ขุนศึก(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2495 : วิญญาณปาฏิหาริย์(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2495 : รามเกียรติ์ ตอน สิ้นแสงไอยสูรย์(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2496 : ตำรวจตระเวนชายแดน(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2496 : ฟ้ามุ่ย(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2496 : พรานนาวี(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2496 : วนิดา(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2497 : นางไพร(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2497 : ศรีราชา(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2497 : ล่องแพ(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2497 : เจ้าสาวชาวไร่(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2497 : หนูจ๋า(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2497 : แม่ศรีเรือน(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2497 : มารหัวใจ(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2497 : โอเคสังข์ทอง(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2497 : สามเสือสมุทร(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2497 : หัวใจมาร(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2497 : น้ำตาชาย(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2497 : กังวานไพร(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2497 : เสือน้อย(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2498 : คนจริง(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2498 : หญิงคนชั่ว(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2498 : แดนมิคสัญญี(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2498 : วารุณี(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2498 : สลัดดำ(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2498 : ทาษเทวี(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2498 : หญิงสามผัว(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2498 : เมียแก้ว(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2498 : ยอดรักคนยาก(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2498 : เกวียนหัก(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2498 : เกียรติศักดิ์ทหารไทย(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2498 : ขุนโจรสามร้อยยอด(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2498 : ทหารเสือพระเจ้าตาก(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : สุดสายใจ(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : สุดหล้าฟ้าเขียว(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : ขุนศึกน่านเจ้า(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : หนีเมีย(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : สุดทางรัก(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : ปีศาจคะนองรัก(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : 7 มุมเมือง(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : กัปตันยุทธ(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : ยิงทิ้ง(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : ลูกแก้วเมียขวัญ(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : เศรษฐีอนาถา(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : นักสืบพรานตอนจำเลยไม่พูด(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2499 : นางใบ้(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2500 : ยอดพิศวาส(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2500 : แก้วกัลยา(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2500 : ขุนโจร5นัด(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2500 : ไพรกว้าง(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2500 : บัวขาว(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2500 : ไพรพเนจร(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2500 : ประกาศิตศาลเตี้ย(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2500 : รักจำแลง(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2500 : สายโลหิต(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2500 : สุภาพบุรุษสลึมสลือ(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2501 : อกสามศอก(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2501 : หนึ่งต่อเจ็ด(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2501 : ไกรทอง(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2501 : เทวรูปหยก(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2501 : ยอดชาย(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2501 : การะเกด(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2501 : อำนาจกับอำนาจ(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2502 : เชลยรัก(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2502 : เลือดทาแผ่นดิน(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2503 : ปู่โสมเฝ้าทรัพย์(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2503 : ยอดมนุษย์(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2503 : รอยไถ(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2504 : ม่านไข่มุก(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2505 : บันทึกรักของพิมพ์ฉวี(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2507 : ภูติพิศวาส(พากย์ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
- พ.ศ. 2509 : หมอชนินทร์ผู้วิเศษ(ร่วมกับม.ล.รุจิรา)
ละครโทรทัศน์
[แก้]- พ.ศ. 2512 : คมพยาบาท
- พ.ศ. 2514 : ใจแม่
- พ.ศ. 2516 : ริษยา
- พ.ศ. 2518 : ตะวันขึ้นที่อ่าวพังงา
- พ.ศ. 2519 : ปมด้อย
- พ.ศ. 2520 : รักในสายหมอก
- พ.ศ. 2520 : เรือนรุ้งระลึกชาติ
- พ.ศ. 2521 : ดวงตาสวรรค์
- พ.ศ. 2521 : เมียจำเป็น
- พ.ศ. 2522 : มนต์ดำ
- พ.ศ. 2524 : จิตไม่ว่าง
- พ.ศ. 2524 : สลักจิต
- พ.ศ. 2524 : มายา
- พ.ศ. 2524 : ความรักแสนกล
- พ.ศ. 2524 : เพลงชีวิต
- พ.ศ. 2525 : ริษยา
- พ.ศ. 2525 : ผู้ชายในอดีต รับเชิญ
- พ.ศ. 2525 : ไฟหนาว
- พ.ศ. 2526 : คุณยายกายสิทธิ์
- พ.ศ. 2526 : คนเดินดิน
- พ.ศ. 2526 : รักไม่มีช่องว่าง
- พ.ศ. 2526 : อีแตน
- พ.ศ. 2526 : จนกว่า...จะถึงวันนั้น
- พ.ศ. 2526 : พิษอารมณ์
- พ.ศ. 2526 : ทุ่งทองกวาว
- พ.ศ. 2527 : พนันรัก
- พ.ศ. 2527 : นางแมวป่า
- พ.ศ. 2527 : คอนโดมิเนียม
- พ.ศ. 2527 : ลานภุมรา
- พ.ศ. 2527 : แผลหัวใจ
- พ.ศ. 2528 : ลูกผู้ชายไม้ตะพด
- พ.ศ. 2528 : เบญจรงค์ห้าสี รับเชิญ
- พ.ศ. 2528 : กตัญญูพิศวาส
- พ.ศ. 2528 : ตี๋ใหญ่
- พ.ศ. 2528 : ค่าของคน
- พ.ศ. 2529 : มาเฟียซาอุ
- พ.ศ. 2529 : กุหลาบไร้หนาม
- พ.ศ. 2529 : เปรต
- พ.ศ. 2529 : โผน กิ่งเพชร
- พ.ศ. 2529 : วังไวกูณฑ์
- พ.ศ. 2529 : วัยซน
- พ.ศ. 2530 : ปริศนา รับเชิญ
- พ.ศ. 2530 : ตะวันขึ้นที่อ่าวพังงา
- พ.ศ. 2530 : ซูซี่ ซิงซิง
- พ.ศ. 2530 : สกาวเดือน
- พ.ศ. 2530 : บ่วงกรรม
- พ.ศ. 2531 : สามีตีตรา
- พ.ศ. 2531 : เวิ้งระกำ
- พ.ศ. 2531 : คนเริงเมือง
- พ.ศ. 2531 : เจ้าสาวของอานนท์
- พ.ศ. 2531 : มายา
- พ.ศ. 2531 : บ้านของพรุ่งนี้
- พ.ศ. 2532 : เมียหลวง
- พ.ศ. 2532 : สมการวัย
- พ.ศ. 2533 : เพื่อนผมชื่อสมปอง
- พ.ศ. 2533 : เลือดสุพรรณ
- พ.ศ. 2533 : แม่มดแจ๋วแหวว
- พ.ศ. 2533 : ข้าวนอกนา
- พ.ศ. 2533 : วงศาคณาญาติ
- พ.ศ. 2533 : ล่องเรือหารัก
- พ.ศ. 2533 : บัวแล้งน้ำ
- พ.ศ. 2533 : ขมิ้นกับปูน รับเชิญ
- พ.ศ. 2534 : ละอองเทศ
- พ.ศ. 2534 : ผู้การเรือเร่
- พ.ศ. 2535 : มะกอกเทวดา
- พ.ศ. 2535 : บ่วง
- พ.ศ. 2535 : ทางโค้ง
- พ.ศ. 2535 : ลางรัก
- พ.ศ. 2535 : ตราบดินสิ้นฟ้า
- พ.ศ. 2535 : จะไม่มีช่องว่างระหว่างเรา
- พ.ศ. 2535 : อรุณสวัสดิ์
- พ.ศ. 2535 : ไผ่ลอดกอ
- พ.ศ. 2536 : ลิขิตชีวิต
- พ.ศ. 2536 : ภูติสาวเจ้าเสน่ห์
- พ.ศ. 2536 : นักข่าวหัวเห็ด
- พ.ศ. 2536 : เงารัก
- พ.ศ. 2536 : เรือนแรม
- พ.ศ. 2536 : ภูตพยาบาท
- พ.ศ. 2536 : เทพบุตรสุดเวหา รับเชิญ
- พ.ศ. 2536 : คนละโลก
- พ.ศ. 2536 : วันนี้ที่รอคอย
- พ.ศ. 2537 : ล่า รับเชิญ
- พ.ศ. 2537 : เมียนอกหัวใจ
- พ.ศ. 2537 : ความฝันที่ถูกทำลาย
- พ.ศ. 2537 : แสงสูรย์
- พ.ศ. 2537 : เพลิงสีรุ้ง
- พ.ศ. 2537 : คลื่นชีวิต รับเชิญ
- พ.ศ. 2537 : เพลิงรัก เพลิงแค้น
- พ.ศ. 2538 : ร่มฉัตร
- พ.ศ. 2538 : เสราดารัล
- พ.ศ. 2538 : เงาราหู
- พ.ศ. 2538 : ปราสาทสีขาว
- พ.ศ. 2538 : นางอาย
- พ.ศ. 2538 : ผู้ใหญ่ลีกับนางมา รับเชิญ
- พ.ศ. 2538 : มนต์รักลูกทุ่ง รับเชิญ
- พ.ศ. 2539 : บ้านสอยดาว
- พ.ศ. 2539 : ดารายัณ
- พ.ศ. 2539 : ดั่งดวงหฤทัย
- พ.ศ. 2540 : เรือนมยุรา รับเชิญ
- พ.ศ. 2540 : ทานตะวัน
- พ.ศ. 2540 : บิ๊กเสี่ย
- พ.ศ. 2540 : กระท่อมไม้ไผ่
- พ.ศ. 2540 : นางสาวไม่จำกัดนามสกุล
- พ.ศ. 2540 : แก้วจอมแก่น
- พ.ศ. 2541 : จากฝันสู่นิรันดร รับเชิญ
- พ.ศ. 2541 : สุรพล(คนจริง) สมบัติเจริญ รับเชิญ
- พ.ศ. 2542 : โดดเดี่ยวไม่เดียวดาย
- พ.ศ. 2542 : อรุณสวัสดิ์
- พ.ศ. 2542 : เสน่ห์นางงิ้ว
- พ.ศ. 2542 : โดมทอง
- พ.ศ. 2542 : ดาวกลางดง รับเชิญ
- พ.ศ. 2543 : ใต้ร่มไม้เลื้อย เรือนศิรา
- พ.ศ. 2543 : มัสยา
- พ.ศ. 2543 : มิติใหม่ หัวใจเดิม
- พ.ศ. 2543 : พันท้ายนรสิงห์
- พ.ศ. 2543 : ดุจฟ้าไร้ดาว
- พ.ศ. 2543 : แม่ย่านาง รับเชิญ
- พ.ศ. 2543 : รักทะเล้น
- พ.ศ. 2544 : กากเพชร
- พ.ศ. 2544 : นายฮ้อยทมิฬ
- พ.ศ. 2544 : พี่เลี้ยงกึ่งสำเร็จรูป
- พ.ศ. 2544 : ต้นรัก
- พ.ศ. 2544 : เรือนนพเก้า
- พ.ศ. 2544 : ไฟกามเทพ
- พ.ศ. 2544 : ซิงตึ๊ง
- พ.ศ. 2545 : ผู้กองยอดรัก
- พ.ศ. 2545 : ใครกำหนด
- พ.ศ. 2545 : บ่วงบรรจถรณ์
- พ.ศ. 2545 : สู่ฝันตะบันแข้ง
- พ.ศ. 2545 : วัยร้ายเฟรชชี่
- พ.ศ. 2546 : สิบตำรวจโทบุญถึง
- พ.ศ. 2546 : พุทธานุภาพ รับเชิญ
- พ.ศ. 2546 : วิมานดิน
- พ.ศ. 2546 : ทีเด็ด ครูพันธุ์ใหม่จิตพิสัยเดือด
- พ.ศ. 2548 : โสดสโมสร ตอน บ้านนี้ไม่มีแมลง
- พ.ศ. 2548 : วีรบุรุษกองขยะ
- พ.ศ. 2549 : อมฤตาลัย
- พ.ศ. 2550 : ตุ๊กตาเริงระบำ
- พ.ศ. 2553 : พยัคฆ์ยี่เก
- พ.ศ. 2553 : เหนือเมฆ
- พ.ศ. 2555 : รักออกอากาศ
รางวัล
[แก้]- รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ จากภาพยนตร์เรื่อง โอวตี่ (พ.ศ. 2529)
- รางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ภาพยนตร์และละคร นักแสดง-นักพากย์ (พ.ศ. 2542)
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขารางวัลเกียรติยศคนทีวี (พ.ศ. 2548)
- รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 24 สาขาเกียรติคุณแห่งความสำเร็จ (พ.ศ. 2559)[8]
- รางวัลผู้มีอายุ 100 ปีขึ้นไป จากสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "วันเกิดยายศรี | วันนี้วันเกิดครบรอบ 101 ปี ของคุณมารศรี ( นับแบบคนจีน เค้าจะให้นับเพิ่มอีก 1ปี ) เลยเอา คลิป ประวัติคุณมารศรี มาลงอีกครั้ง... | By Ty nattapon | Facebook". www.facebook.com.
- ↑ วารสารศิลปินแห่งชาติ และ รายการคุยแซ่บโชว์
- ↑ "คำประกาศเกียรติคุณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-10-27.
- ↑ 4.0 4.1 ประวัติ นางมารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา เก็บถาวร 2005-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2383 ปีที่ 46 ประจำวันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2543 โดย นายนิติกร กรัยวิเชียร
- ↑ อารีย์ นักดนตรี, โลกมายาของอารีย์, กายมารุต, 2546 ISBN 974-91018-4-7 หน้า 397-405
- ↑ "ประวัติศิลปินแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-01-01.
- ↑ "ผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปี 2548". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-20. สืบค้นเมื่อ 2008-01-01.
- ↑ "ฟรีแลนซ์ฯ"คว้าหนังเยี่ยม รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง dailynews.co.th
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2543 เล่ม 117, ตอน 26 ข, 21 ธันวาคม 2543, หน้า 22.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2463
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดปราจีนบุรี
- นักแสดงหญิงชาวไทย
- นักแสดงละครโทรทัศน์หญิงชาวไทย
- นักแสดงภาพยนตร์หญิงชาวไทย
- นักพากย์ชาวไทย
- ราชสกุลอิศรางกูร
- ณ อยุธยา
- ศิลปินแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- นักแสดงหญิงชาวไทยในศตวรรษที่ 20
- นักแสดงหญิงชาวไทยในศตวรรษที่ 21
- ชาวไทยที่มีอายุเกิน 100 ปี
- ผู้ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ รางวัลเกียรติยศคนทีวี
- บทความเกี่ยวกับ ดารา ที่ยังไม่สมบูรณ์